Home Top Ad

สรุป iCreator Conference 2020 วันที่ 2 ว่าด้วยเรื่องเสียง

พลังของเสียง
 
เมื่อวันก่อนได้สรุป iCreator Conference 2020 วันแรกมาแล้ว ใครยังไม่อ่านคลิกเลยจ้า วันนี้ขอส่งสรุปวันที่ 2 มาให้อ่านยาวๆ อีกเช่นเคย

Spotify create with Audio เมื่อเสียงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

  • Gen Zs ใช้โซเชียลมีเดียและดูวิดิโอ รวมถึงเสพคอนเทนต์เสียงอีกด้วย มีการเติบโตกว่า 35%
  • มักเสพคอนเทนต์เสียงตอนละสายตาจากหน้าจอ เช่น ขับรถ นั่งทำงาน 
  • คนที่สนใจฟัง podcast มักเป็นคนที่เปิดใจ มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบทดลองสินค้าใหม่ ชอบใช้อินเตอร์เน็ตสืบค้น ใช้อินเตอร์เน็ตในการจัดการการเงิน
  • มักเลือกเสียงหรือเพลงตามช่วงเวลา อย่างตอนเช้าปรับให้ตื่น กลางวันใช้เสียงที่ตื่นเต้น
  • นอกจากเสียงเพลงแล้ว เสียงอื่นๆ จะช่วงปรับอารมณ์ได้ดี เช่น เสียงลมพัด เสียง asmr
  • Sonic branding ให้ความสำคัญกับความเป็นเอกลักษณ์ในโลกของเสียง สร้างความจดจำแบรนด์ให้กับลูกค้า เช่น MasterCard มีการเล่นโน้ต 6 ตัวที่เป็นเสียงหลังทำธุรกรรมเสร็จมาปรับใช้เป็นเสียงที่เหมาะกับประเทศต่างๆ Avon ใช้ Sonic branding ในเพลงโฆษณา
  • รู้ว่าตัวตนของแบรนด์เป็นอย่างไร แบรนด์ของเรามีเสียงแบบไหน เช่น ความสนุก ความหิว และวิเคราะห์ว่า มีจุดไหนที่ใช้ sonic brand ได้บ้าง
  • พัฒนาเสียงไปตามสิ่งที่คาดหวังว่าจะให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมแบบใด รวมถึง Context การฟังเสียงเป็นแบบใด เช่น ต้องการสมาธิ ต้องการแรงบันดาลใจ

คอนเทนต์ที่มีคุณค่าหน้าตาเป็นอย่างไร - พี่ทอฟฟี่

  • ตอนนั้นทำงานเกี่ยวกับการสื่อสารแบรนด์ จึงอยากทำคอนเทนต์เพราะคิดว่าเป็นอนาคตของแบรนด์ ช่วงนั้นผู้คนยังไม่รู้จักคอนเทนต์มากนัก
  • จังหวะนั้นรออย่างใจจดใจจ่อที่จะรอประกาศการย้ายไปแผนกคอนเทนต์ที่เป็นแผนกใหม่ แต่หัวหน้ากลับมาบอกต่อหน้าคนอื่นว่าที่ย้ายแผนกเพราะทำงานไม่ได้ พูดเป็นเรื่องตลกไป ทุกคนหัวเราะกันหมดแต่ตนเองจิตตก รู้สึกไม่มีค่ากับองค์กร
  • ตัดสินลาออกไปทำคอนเทนต์ตอบคำถามเกี่ยวกับการทำงานเพื่อให้คนทำงานมีความสุข เช่น ส่งไลน์เม้าเจ้านายไปผิดกรุป ไปประท้วงแล้วจะมีผลกับการทำงานมั้ย
  • มีคุณค่าตอนได้ตอบคำถามและคำขอบคุณของคนถาม ทำให้มีความสุขกับการทำงานมากขึ้น
  • จุดที่คลายปมในอดีตได้คือมีคนส่งข้อความมาบอกว่าได้อ่านคอนเทนต์แล้วอยากจะเป็นหัวหน้าที่ดี

ทำคอนเทนต์ที่ทรงพลัง ทำให้ได้ยินเสียงอะไรบางอย่าง

  • อยากให้การสัมภาษณ์ดาราเป็นการคืนความธรรมดาของการเป็นมนุษย์ แทนที่จะเน้นแต่ประเด็นดราม่าความรัก ซึ่งหลายคนขอบคุณที่เห็นคุณค่าของเขา ได้แสดงความคิดเห็นเรื่องอื่นบ้าง
  • จากคำพูดของพี่เบิร์ด ธงไชยที่ว่า "ดอกไม้บานเต็มไปหมด" ดอกไม้จะบานได้เมื่อเป็นผู้ให้ คนทำคอนเทนต์ที่ดีจะส่งต่อดอกไม้บาน ให้คนได้รับอยากส่งต่อดอกไม้บานนั้นอีก 
  • เหมือนที่พี่เบิร์ดให้สัมภาษณ์เสร็จแล้ว VDO call หาพ่อแม่ของพี่ทอฟฟี่เพื่อชมว่าคิดคำถามได้ดี เป็นการส่งต่อความสุข

คอนเทนต์ที่ดี มีพลังมากกว่าที่คิด

  • คอนเทนต์ที่ดีนั้นจะต้อง
    • ดีต่อตัวเราเอง ทำให้เติบโตขึ้น และภูมิใจในงาน
    • ดีต่อคนที่อยู่ตรงหน้า ทำให้เสียงของคนให้สัมภาษณ์ได้ยิน คืนคุณค่าให้คนนั้น ส่งต่อสิ่งดีๆ ให้คนอ่าน ได้มุมมองดี
    • ดีต่อคนรอบข้าง ดีต่อสังคม
  • บนสะพานที่มีคนกระโดดลงไปมากที่สุด มีเด็กผู้หญิงคนนึงที่ผูกข้อความให้กำลังใจคนที่คิดโดดลงไป ซึ่งช่วยได้มาก
  • การทำคอนเทนต์ในแต่ละวันเหมือนการแขวนข้อความลงสะพาน จะเป็นข้อความที่ทำให้อยากมีชีวิตอยู่ หรือกระโดดลงสะพาน สามารถเลือกได้ ยิ่งมีคอนเทนต์ที่ดีมากเท่าไหร่ เหมือนมีข้อความดีๆ เต็มสะพานแล้วโอกาสที่จะมีคนเห็นมากเท่านั้น

การปรับตัวของ 7-11

  • เปิดสาขาแรกที่พัฒน์พงษ์ เพราะสามารถเปิดได้ 24 ชั่วโมง ลูกค้าเป็นกลุ่มคนทำงานและคนเคยไปต่างประเทศ
  • จากร้านสะดวกซื้อปรับตัวมาเป็นร้านอิ่มสะดวก "หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา 7-11" เน้นอาหารมากขึ้น
  • โลกเริ่มเปลี่ยนเพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โควิด มรสุมเศรษฐกิจ และ new normal
  • ปรับตัวด้วยการใช้ cashless ส่งของถึงบ้านลูกค้า ขยายสินค้าที่หลากหลาย เช่นอาหารแห้ง เกิด all online by 7-11

การเติบโตและก้าวต่อไปของ Podcast

  • ปีนี้มีคนฟัง podcast มากขึ้น ในขณะที่คนทำก็มีมากขึ้นทั้งฝั่งคนและแบรนด์ 
  • เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ คนเข้าใจมากขึ้นว่า podcast คืออะไร 
  • แต่ก็ยังมีบางกลุ่มคนฟังที่ยังไม่เข้าใจกับสิ่งนี้ จึงจะต้องสอนว่าสิ่งนี้คืออะไรเพื่อกระจายกลุ่มคนฟังมากขึ้น
  • คอนเทนต์ podcast กว้างและหลากหลายมากกว่าที่คิด
  • Podcast ในแต่ละช่องทางมีเสน่ห์ต่างกันไป ลองตัดเป็นคลิปเสียงบวกภาพลง Tiktok ก็ได้เสียงตอบรับดีเหมือนกัน

คนเริ่มฟัง Podcast บน YouTube

  • ยอดตกลงช่วงโควิดเพราะไม่ได้ฟังระหว่างทำงานหรือเดินทาง ยอดฟังใน YouTube มากขึ้น ขณะเดียวกันกลุ่มคนฟังหลากหลายขึ้นจนต้องการคอนเทนต์ต่างๆ ที่ไม่เคยมีมา
  • ปัจจุบันแหล่งฝากเสียงนอกจาก SoundCloud แล้วยังมี acher อีกด้วย ถือว่าทำง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนแบรนด์เริ่มเข้าใจว่าจะใส่โฆษณาใน Podcast ได้อย่างไรบ้าง เริ่มเปิดใจกับสิ่งนี้มากขึ้น
  • การนำ podcast ไปใส่ใน YouTube ทำให้คนค้นหาเจอได้มากขึ้น อีกทั้งการมาของ YouTube premium ทำให้คนดูมีมากขึ้น
  • แนวรายการยอดนิยม ได้แก่ พัฒนาตนเอง เล่าข่าว เรื่องผี เรื่องรัก
  • ความถี่ในการออกรายการก็มีผลกับการติดตามของคนดู

ความยาวขึ้นกับเนื้อหาที่สื่อออกไป

  • ส่วนมากความยาวรายการที่คนฟังจนจบมักจะไม่เกิน 20 นาที อย่างไรก็ตามรายการยาวไม่เท่ากับนาน ถ้าคุยสนุก 1 ชั่วโมง แต่ละรายการจะมีความยาวที่เหมาะสม
  • ก่อนลงโฆษณากับ podcast ทางแบรนด์ต้องทำความเข้าใจว่าจะให้ podcast ทำหน้าที่อะไรในแบรนด์ ให้เป็นส่วนหนึ่งของ air time เป็น influencer หรือทำอะไร
  • Podcast ฟังเมื่อไรก็ได้ คุ้มค่ากับการลงโฆษณา

แบไต๋ในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง

  • มีการเปลี่ยนถ่ายมาตั้งแต่ยุคมีรายการทีวี และมีสตูดิโอของตัวเอง สู่การเป็นรายการออนไลน์เต็มตัวที่ไม่ได้ลงทุนเรื่องสถานที่สูงแล้ว 
  • มีการปรับตัวตาม Platfrom ต่างๆ เช่น คนดู YouTube พร้อมดูคลิปที่ยาวและสเกลใกล้เคียงทีวีได้ คนดู Facebook จะไถดูคร่าวๆ ว่าแต่ละวันมีเรื่องราวอะไร จึงไม่ได้ตั้งใจดูคลิปยาวขนาดนั้น เป็นต้น
  • จากรายการทีวีที่มีไตเติ้ลยาวๆ สู่การเข้าเนื้อหาภายใน 3 วินาทีเพื่อดึงความสนใจให้คนดู 
  • การปรับตัวอย่างไม่หยุดทำให้แบไต๋นั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เชื่อว่าพนักงานทำงานด้วยความสุข
  • การได้ลองทำคอนเทนต์แบบ Real time อย่างการขนส่งของเหลวที่ขึ้นเครื่องไม่ได้กลับบ้านซึ่งตอนนั้นเป็นประเด็นที่คนให้ความสนใจ ทำให้สปอนเซอร์เข้ามา

ทำคอนเทนต์ไลฟ์สไตล์ในแบบของพลอย และคิวเท

  • เป็นการนำเสนอตัวเองผ่านคลิปต่างๆ 
  • การตัดต่อของคิวเทจะเน้นตัดเปลี่ยนไวๆ ในแบบที่ชอบ ขณะที่ของพลอยจะตัดต่อแบบหนังเหมือนที่เรียนมา
  • พลอยจะเก็บ Footage ทั้งหมด นำมาดูแล้วตัดต่อ การตัดต่อสามารถบิ๊วให้สนุกได้
  • คิวเทจะมีการฟัง Feedback จากคนดู ทำตามสิ่งที่คนดูต้องการก็มี เพิ่มความสนุกสนาน 
  • เส้นเรื่องมาจากตัวตนของตัวเองจะทำให้ทำคอนเทนต์ไปได้นานๆ

ข้อคิดจากนิ้วกลม และหนุ่มเมืองจันทน์

  • ถึงแม้ว่าสื่อจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่การเล่าเรื่องให้สนใจยังเป็นสิ่งที่ดึงดูดคนอ่านอยู่ 
  • ปัจจุบันการเข้าถึงเป็นไปตามความสนใจของแต่ละคน 
  • เอาจริงเราไม่ได้ต้องการคนติดตามจำนวนมากขนาดนั้น แค่ต้องการคนที่ติดตามและอินอย่างเข้มข้นบางส่วน
  • อย่ายึดติดกับอดีต เพราะความเปลี่ยนแปลงมีตลอด หาความสุขกับสิ่งที่ทำอยู่

จากฟรีแลนซ์สู่บริษัทสื่อ

พี่โคดดี้ Goodday

  • จุดเริ่มต้นของการทำบริษัทของโคดดี้คือการไม่อยากทำอะไรอย่างเดียวแล้ว การมีทีม support จะทำให้ได้ทำหลายโปรเจค และสนุกมากขึ้น
  • การทำบริษัททำให้รู้ว่ามีเรื่องไม่เก่งที่ต้องมีคนช่วย และมีเรื่องกฎหมายที่ต้องเรียนรู้ใหม่
  • รับพนักงานแบบไม่ดูวุฒิเลย เน้นดูพอร์ตฟอลิโอว่าสนใจในงานที่สมัครหรือไม่ ถ้าได้คนที่เข้าใจในบริษัทและมีเป้าหมายร่วมกันชัดเจนจจะดีกว่า
  • ช่วงแรกให้ทำความรู้จักกับบริษัท 2-3 เดือน แล้วปล่อยให้คิดอิสระไปก่อน คอยประกบดูเรียนรู้กันทั้งสองฝ่าย
  • ถ้าเปรียบกับร้านอาหาร โคดดี้ก็จะทำหน้าที่เหมือน Head chef ได้แลกเปลี่ยนกับน้องๆ ทำให้หัวใจยังเด็กอยู่
  • เน้นให้พนักงานอยากให้ทำอะไรก็ทำเลย มีช่วยดูงานเป็นระยะๆ

เฟื่องลดา LDA

  • เฟื่องเป็นฟรีแลนซ์มาตลอดจนถึง 25 ปี จนเริ่มคิดอยากทำอะไรบางอย่างที่มีความสุขกับชีวิต และอยากได้ทีมที่ถนัดทำสิ่งต่างๆ มาช่วยสนับสนุน
  • นอกจากการทำคอนเทนท์และมาร์เกตติ้งที่เฟื่องถนัดแล้ว การมีคนมาช่วยเติมเต็มหลังบ้านเป็นสิ่งที่ช่วยได้มาก
  • ตอนรับสมัครพนักงานก็ประกาศไปด้วยความเชื่อของตัวเอง ซึ่งมาด้วยความเชื่อและความฝันแบบเดียวกัน
  • ดิมทำงานกันแบบฟรีแลนซ์ สบายๆ แต่พอเป็นบริษัทใหญ่ขึ้นก็มีการปรับเปลี่ยนกันไป ดูว่าเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้ไหม สกิลได้หรือไม่ เริ่มมีการจัดผังองค์กรมีระบบชัดเจน
  • เน้นทำงานโดยมีแบรนด์บุ๊คออกมาให้ทีมงานดูเพื่อให้เห็นความเป็น LDA แต่ก็ไม่ง่ายขนาดนั้น ต้องเรียนรู้ระหว่างทำงานกันไป 
  • การสื่อสารให้คนดูเห็นว่าเฟื่องลดาเป็นแบรนด์ลดาเป็นสิ่งที่ท้าทายจากคนที่ไม่เข้าใจ
  • ด้วยความเป็น CEO และ Founder เลยเป็นคนที่ดูองค์รวมว่าแต่ละคนต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง ช่วยเลือกประเด็นที่สนใจ คอยบอก DNA ของบริษัท 
  • ปลายทางคือทำให้พนักงานเก่งกว่าให้ได้ และเปิดโอกาสให้น้องทำสิ่งใหม่ๆ เมื่อเห็นแวว

พี่เอ็ม The Zero

  • พี่เอ็มชอบงานฟรีแลนซ์มาตลอดเพราะทำงานที่ไหนก็ได้ 
  • จุดเปลี่ยนคือตอนมีลูก รู้สึกได้ว่าตอนช่วยเลี้ยงลูกแล้วเวลาทำงานหายไปแล้วรายได้หาย เลยคิดว่าถ้ามีโมเดลของบริษัทขึ้นมาน่าจะดีขึ้น
  • วงการคนทำคอนเทนต์แต่ละคนมีความเป็นเอกลักษณ์มาก 
  • การให้แต่ละคนเข้ามาในบริษัทเป็นสิ่งที่คิดในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นอยู่ การดูแล 
  • ตอนทำฟรีแลนซ์ทำเองหมดตั้งแต่ทำคอนเทนต์ กราฟิก ยันรับเช็ค ความยากคือจะทำอย่างไรให้น้องเข้าใจในงานที่พี่เอ็มอยากได้
  • การลาออกของพนักงานคนแรกเป็นสิ่งที่กระทบใจพอสมควร สุดท้ายเป็นสิ่งที่ต้องทำใจยอมรับ
  • เด็กรุ่นใหม่ไม่ได้มาไวไปไว เบื่อง่ายขนาดนั้น แค่อยากทำงานที่ตอบโจทย์ชีวิตตัวเอง ที่บริษัทเลยมีนโยบายให้งานส่วนตัวได้สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงไปทำงานส่วนตัว เป็นสิ่งที่ทำให้พนักงานอยู่ได้นานขึ้น
  • ทำหลายช่องที่มีจุดประสงค์แตกต่างกันไปในแต่ละสื่อ เช่น Mango, Parents One, RainMaker
  • อยากให้น้องๆ ทำอะไรหลายอย่างในคนเดียว ทั้งคอนเทนต์ กราฟิก ตัดวิดิโอ และอื่นๆ เพื่อให้น้องๆ รู้ว่าตัวเองเก่งอะไร

สรุป

จะเห็นได้ว่าเสียงเริ่มเข้ามาเป็นคอนเทนต์สำคัญที่มีผลกับคนฟังเป็นอย่างมาก นอกจากฟังเพลงแล้ว การฟัง podcast ก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำกิจกรรมอื่นไม่ว่าจะเป็นขับรถหรือทำงานอีกด้วย ยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนไป คอนเทนต์ที่นิมยมอาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง อย่างไรก็ตามเรื่องราวและคุณค่าของคอนเทนต์ก็ยังสำคัญไม่เปลี่ยนเลย ในอนาคตข้างหน้าจากคอนเทนต์ครีเอเตอร์ตัวเล็กๆ คนหนึ่งก็อาจจะเติบโตไปเป็นบริษัทสื่อที่มีคุณภาพได้ ถึงจุดนั้นนอกจากการคิดอย่างสร้างสรรค์แล้ว การบริหาร การเงิน และเรื่องอื่นๆ ก็เป็นสิ่งที่คิดควบคู่เช่นเดียวกัน

ความรู้สึก

รู้สึกได้ว่าวันนี้เนื้อหาค่อนข้างร้อยเรียงไปในเรื่องเดียวกันได้เป็นอย่างดี และน่าจะเป็นวันที่เนื้อหาอัดแน่นมากกว่าวันอื่น โดยเฉพาะช่วงบ่ายที่ session เยอะมากเลยทีเดียว เป็นวันที่ความรู้แน่นเอี้ยดในห้องแอร์ที่หนาวสั่น สั่นสู้ ฮูเร่! ขอตัดจบวันที่ 2 เท่านี้ก่อนก็แล้วกันค่ะ เหลือวันสุดท้ายของงาน iCreator Conferene แล้ว

สรุป iCreator Conference 2020 วันที่ 2 ว่าด้วยเรื่องเสียง สรุป iCreator Conference 2020 วันที่ 2 ว่าด้วยเรื่องเสียง Reviewed by giftoun on สิงหาคม 23, 2563 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น

Sponsor

AD BANNER

Travel everywhere!