Home Top Ad

สรุป iCreator Conference 2020 วันแรก + ความรู้สึก

คุรสุทธิชัย หยุ่น เป็น speaker ท่านเดียวที่มีโต๊ะกาแฟ

ได้มีโอกาสมางาน iCreator Conference อีกครั้งเป็นปีที่ 2 แล้ว ด้วยสถานการณ์โควิดที่ยังเฝ้าระวังอยู่ในตอนนี้ ถือเป็นความท้าทายในการจัดสัมมนามากเลยทีเดียว ซึ่งทางทีม Rainmaker ได้จัดงานแบบ Hibrid จากพื้นที่ทั้งหมด 2 ฮอลล์ในปีที่แล้ว ปีนี้ยุบเหลือ 1 ฮอลล์ แบ่งเป็นบัตร 2 ประภทคือ

  1. บัตร On ground คือมานั่งฟังสดปกตินี่แหละ แค่ลดจำนวนคนให้นั่งกันแบบมี social distance ลองนับเก้าอี้ตามแถวเล่นๆ ได้ 240 ที่นั่งโดยประมาณ  
  2. บัตร Online เป็นแบบดูจอคอมหรือมือถือที่บ้านหรือที่ใดก็ได้  ข้อดีคือคนต่างจังหวัดและต่างประเทศสามารถรับชมงานได้ บัตรนี้ได้ข่าวว่ายังวางขายนะ สนใจคลิกดูรายละเอียดที่แฟนเพจ Rainmaker ได้เลย 
หมายเหตุ : ถ้าอ่านสรุปวันแรกจบแล้ว มาอ่านสรุปวันที่สอง คลิกที่นี่ ได้เลยจ้า

Keynote จากพี่เอ็ม ผู้ก่อตั้ง The Zero Digital Age Publisher

  • แต่ก่อนจะแบ่งผู้ผลิตสื่อและผู้เสพสื่อแยกออกอย่างชัดเจน ตอนนี้หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว คนดูคอนเทนต์สามารถเป็นคนทำคอนเทนต์ได้
  • ยอด spending ของสื่อบนอินเทอร์เน็ตถือว่าสูงมากยิ่งตอนที่โควิดระบาด สื่ออินเทอร์เน็ตยังเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ธุรกิจอื่นซบเซา
  • ถึงต้นทุนแต่ละคนจะไม่เท่ากันก็จริง อย่าไปคิดว่าเป็นความโชคร้าย ถ้ามีความพยายาม ความคิดสร้างสรรค์ และความเชื่อ ก็สามารถไปต่อได้

Tiktok แพลตฟอร์มเน้นความครีเอท

  • Tiktok ถือว่าเป็นศูนย์รวมความครีเอทีฟบน Short form mobile VDO ความยาวไม่เกิน 60 วินาที
  • เน้นให้ Creator มีความ Active และ Creative เป็นหัวใจที่จะทำให้อยู่บน platform ได้
  • ทาง Tiktok เองก็มีที่ปรึกษาให้ Creator และ workshop ที่จัดทุกเดือน
  • ใครที่ไม่รู้จะโพสต์อะไรบน Tiktok สามารถล้อไปตาม campaign ที่มี เช่น Tiktok uni (โหมดให้ความรู้ยังเป้นที่ต้องการอยู่)
  • ตัวอย่างCreator ที่ประสบความสำเร็จ เช่น kik0404, ryotamositure

พี่โหน่ง ผู้ก่อตั้ง A day, The standard และสารพัดโปรเจค

  • ภายนอกดูเหมือนเป็นคนที่ทำอะไรก็สำเร็จ แท้ที่จริงก็เคยล้มเหลวอยู่เหมือนกัน อย่างตอนมหาวิทยาลัยที่อยากได้เกียรตินิยมแต่พลาดเพราะไปลอกข้อสอบ จังหวะนั้นได้ระลึกว่าชีวิตมีความหมายมากกว่าได้เกียรตินิยม การทำกิจกรรมต่างๆ ก็ทำให้มีคุณค่าชีวิตได้เหมือนกัน
  • เริ่มเป็นบรรณาธิการนิตยสารได้ 2 ปีได้ตามที่ฝัน พอเกิดยุคฟองสบู่แตก นิตยสารก็ปิดตัวลง
  • เมื่อเจออุปสรรค ความสามารถในการฟื้นคืนชีพสำคัญ ลองถอยออกมาดู แล้วมองใหม่ ถอดรหัสว่าสาเหตุของอุปสรรคเกิดจากอะไรบ้าง หาคนให้คำปรึกษา ที่สำคัญคือมีสติ และอดทน
  • ถึงเคยล้มแต่ก็ไม่ท้อ พี่โหน่งได้สร้างแบรนด์ A day ให้แข็งแกร่ง ด้วยความที่อยากทำนิตยสารที่เป็นความคิดและจิตวิญญาณของตัวเอง ลองเสนอค่ายสำนักพิมพ์หลายค่ายยังไม่มีใครสนใจ เลยใช้การระดมทุนเหมือน startup

เริ่มเห็นความจริงอะไรบางอย่างหลังทำโปรเจคต่อจาก A day 

  • พอ A day ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว เลยอยากทำแบรนด์ใหม่อย่าง hamburger, knock knock เพื่อเจาะตลาดกลุ่มใหม่ แต่ไม่ได้ทำกำไรมาก เลยลอง balance ระหว่างความฝันกับความจริงเรื่องการเงิน เลยอยากไปอีกธุรกิจนึงที่เป็นหนังสือเล่มเลยเกิด a book ขึ้นมา
  • เมื่อได้เห็นสถานการณ์ของโลกมากขึ้น จึงอยากทำสื่อที่ซีเรียสมากขึ้น มีความคิดอยากทำนิตยสารสังคมการเมืองอย่าง a day weekly  แต่ทำแล้วมีความไม่รู้จริงอยู่หลายอย่าง จากขายดีกลายเป็นขายไม่ดี ส่วนผสมของเนื้อหาไม่ได้ลงตัวขนาดนี้น ต้นทุนไม่มากพอจึงปิดตัวไป (รากฐานของ the standard มาจาก a day weekly)
  • คิดโปรดักส์ที่ทำเงินเข้าบริษัทได้ พอไปต่างประเทศเห็น free copy เยอะมากเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เลยลองทำ A day bulletin ดู ถือได้ว่าทำเงินมหาศาลเลยทีเดียว เนื่องจากเล่นประเด็นที่เกิดช่วงนั้นทันที

เข้าสู่สื่อใหม่อย่าง The momentum, The standard

  • คิดว่าสื่อเก่ากำลังจะตายลง เลยซ้อมทำดูเพื่อคุ้นเคยกับสิ่งใหม่ สุดท้ายออกไปทำ the standard ด้วยความเชื่อว่าความถูกต้องจะปกป้องทุกอย่าง
  • เคล็ดลับความสำเร็จของ The standard
    • ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่สร้างสิ่งใหม่และประสบความสำเร็จได้
    • การออกแบบที่ดีจะจับใจคนและดึงดูดคนได้ ของบางอย่างเราเลือกซื้อเพราะดีไซน์สวย
    • มีคอนเทนต์ที่ได้พัฒนาตัวเอง ซึ่งตอนโจทย์คนส่วนใหญ่
    • สนใจว่าผู้อ่านอยากอ่านอะไร โดยพยายามไม่เอาใจคนอ่านมากเกินไป นำเสนอเรื่องที่คนทั่วไปควรรู้ ควรทำอะไรที่ให้ประโยชน์กับสังคม
    • ให้สำคัญกับคนทำงานอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจกันและกัน เป็นที่แรกที่ให้ work from home จนปัจจุบันก็ WFH เป็นหลัก มีความคล่องตัวในการปรับตัว มี passion ในการทำงานโดยมี mission เป็นตัวนำ

Beauty Content ยังเกิดใหม่ได้มั้ย 

ในมุมมองพี่โมเม มิ้นชี่ และน้องแพรพาเพลิน

  • ยังมีคนใช้เงินกับความสวยความงามเยอะ ถึงจะเงินเยอะน้อยยังไงก็ยังอยากสวยอยู่ เม็ดเงินตรงนี่ยังมีอยู่มาก 
  • ช่องทางการทำคอนเทนต์ยังมีอยู่ ขอแค่วาง position ตัวเองให้ชัด อย่าหวั่นไหวไปตามกระแส 
  • ชอบแบบไหนบอกตัวตนให้ชัดเจน ยึดมั่นในสิ่งที่ชอบ ถ้ารักในสิ่งที่ทำจะทำได้ยาวๆ 
  • รู้จักตัวเอง เป็นตัวของตัวเอง ความรู้และเทคนิคจะเพิ่มพูนตามประสบการณ์การทำคอนเทนต์
  • คนชอบคอนเทนต์ไม่ hard sale จนเกินไป บอก sponsor ad ให้ชัดเจน
  • คลิปที่มีลูกค้าเข้ามาในเวลาใกล้ๆ กันมากเท่าไหร่ ก็ต้องมีคลิปทำเองมากเท่านั้น ถึงจะเกลี่ยกันได้พอดี 
  • การให้เครดิตคอนเทนต์ที่เป็นแรงบันดาลใจเป็นสิ่งสำคัญ 
  • ทำสิ่งที่คนดูแล้วมีความสุข ไม่ก่อให้เกิดดราม่า  
  • ถ้าทำคลิปและตัน อาจจะไม่มีอะไรนำเสนอมากพอ ไปหาความรู้ก่อนก็ไม่สาย 
  • การมีความรู้มากๆ นอกเหนือจาก suggestion บน Youtube จะทำให้ได้แรงบันดาลใจ และได้คอนเทนต์แปลกใหม่

ความลับคอนเทนต์รีวิวของหลักล้านของคุณบูม

  • เริ่มมาจากการทำเว็บไวต์ https://thinkofliving.com/ เน้นไปกลุ่มคนอยากซื้อบ้าน คอนโด 
  • มีความคิดอยากทำคอนเทนต์ที่กว้างกว่านั้น ยังเห็นกลุ่มคนที่ไม่ได้จะซื้อ แค่อยากดู อยากเห็นดีไซน์ อยากเห็นประวัติ เลยมาทำช่องของตัวเอง แล้วเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ เน้นสิ่งที่คนไม่ได้มีโอกาสได้สัมผัสบ่อยๆ เช่น คอนโด 100 ล้าน
  • ด้วยความเป็นคนขี้สงสัย จึงตั้งคำถามกับราคาที่สูงจนแปลกใจ จนเกิดคอนเทนต์ของราคาสูงขึ้นมา
  • การทำงานกับแบรนด์ที่เข้ามาจะเริ่มคิดคอนเทนต์จากฝั่งตนเองก่อน แล้วค่อยดูว่าแบรนด์อยากให้เล่าว่ามีอะไรบ้าง แล้วมาเชื่อมกัน
  • โฟกัสที่คนอยากดูไลฟ์สไตล์ นึกถึงใจคนดูที่ไม่อยากให้คอนเทนต์ขายมีเวลานานเกินไป
  • ให้ความสำคัญกับเสียงมากกว่าภาพ เพราะบิ๊วให้เกิดอารมณ์มากขึ้น พอมีเอฟเฟคแปลกๆ ยิ่งทำให้คนดูย้อนกลับมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น
  • ลูกค้าจะต้องรู้ว่าสไตล์ครีเอเตอร์เป็นอย่างไรแต่แรก และจำไว้เสมอว่าครีเอทเตอร์ไม่ใช่พรีเซนเตอร์
  • เน้น Goal ชัด และวินัยการลงคอนเทนต์สม่ำเสมอ

ทำคอนเทนต์เที่ยวแบบ New Normal 

สไตล์ ว่านไฉ และบอส sneak out

  • จากตอนแรกที่ทำคอนเทนต์เที่ยวไม่ได้ เลยรวบรวมคลิปเที่ยวมาเปิดให้คนหายคิดถึงบ้าง
  • มาเห็นความลำบากของชาวบ้านที่ไม่ได้มีนักท่องเที่ยวเข้ามา เลยทำคอนเทนต์เที่ยวต่างจังหวัดเพื่อช่วยชาวบ้าน พัฒนาชุมชน แล้วมีคนเที่ยวตามมากขึ้น 
  • บางเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเที่ยวโดยตรงก็มาเป็นคอนเทนต์น่ารักๆ ได้ 
  • คอนเทนต์เที่ยวต่างจังหวัดจะไม่ซ้ำจำเจถ้าหาเรื่องราวที่มีอยู่ทุกพื้นที่ที่ไป  
  • ด้วยความที่คนทำคอนเทนต์เที่ยวเยอะ เลยต้องหาจุดยืนให้ชัดว่า ฉันคือใคร เคยทำอะไร ลูกค้าคือใคร รู้ว่าคนประเภทไหนจะชอบเรา พอเริ่มทดลองทำซ้ำไปเรื่อยๆ แล้วจะรู้ว่าลูกเพจชอบอะไร
  • Sneak out รวบรวมชื่อโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิดมาทำแคมเปญขายวอยเชอร์ราคาถูก และมีจัดคอนเสิร์ตจากระเบียงที่พักทั่วทุกจังหวัด 5 กันยายนนี้

เมื่อคุณแม่มาทำเพจ 

แม่การ์ตูน แม่น้ำหวาน และแม่อาย

  • ตั้งเพจไว้เป็นไดอารี่ของลูก บันทึกเรื่องราวต่างๆ เช่นทำอาหารให้ลูกทานแล้วหน้าตาดีเลยอยากแชร์ 
  • แต่ก็ต้องระวังแชร์รูปบางอย่างที่ส่วนตัว ความปลอดภัย เช่น รูปเปลือยตอนเด็ก ข้อมูลโรงเรียน ไม่ลง real time 
  • บางทีต้องคุยกับลูกก่อนว่าอยากทำมั้ย มีการปรึกษากัน เขียนแบบนี้ดีมั้ย
  • คิดเสมอว่า 1 โพสต์มีอิทธิพลกับทั้งลูกและคนอื่นก่อนโพสต์อะไรควรคิดให้ดีๆ 
  • แม่แต่ละคนรักลูกในคนละบริบทกัน จึงไม่ตัดสินใครว่าเลี้ยงลูกไม่ดี 
  • เวลาเป็นแม่แล้วจะมีความเครียดจากการรับข้อมูลข่าวสาร เพจแม่และเด็กเลยเป็นสังคมแลกเปลี่ยนความคิดมากกว่า 
  • ตอนรับงานคุยกับลูกค้าให้เคลียร์ว่าอะไรทำได้หรือไม่ เพราะสิ่งที่ต้องดีลคือลูก จะต้องสบายใจกันทั้ง 2 ฝั่งและ balance ตัวตนให้ดีๆ พยายามนำงานให้ match กับ lifestyle 
  • Be yourself, be positive.

ฟีเจอร์ใหม่บน Facebook สำหรับ Creator

  • มีคนรับชมวิดิโอบน Facebook watch มากขึ้น โดยมี watch party ที่สามารถชมด้วยกันได้ 
  • ถ้าทำซับไตเติ้ลจะมีโอกาสทำให้มีคนดูมากขึ้น ไปทั่วโลกได้ง่ายกว่า
  • มีฟังชั่นโปรยดาวให้ Creator
  • Fan subscription สมัครสมาชิกรายเดือน จะได้เนื้อหาที่ไม่เห็นใน feed ปกติ
  • Branded content ทำร่วมกับแบรนด์ ให้เห็นไปเลยว่าแบรนด์ไหนสปอนเซอร์
  • Paid Online Event ดูไลฟ์โดยเสียเงินตามอีเวนท์ออนไลน์ จะมาถึงไทยเร็วๆ นี้

การปรับตัวอย่างรวดเร็วของคุณสุทธิชัย หยุ่น

  • ยุคที่ยังมีเครื่องพิมพ์ดีดอยู่ เป็นการทำข่าวแบบไม่มีตัวช่วยอะไรเลย ใช้ความจำล้วนๆ 
  • ไม่ว่ายุคไหน storytelling ยังสำคัญไม่เคยเปลี่ยน 
  • ทุกวันนี้ยังตื่นเต้นทุกเช้าว่ามีคอนเทนต์อะไรน่าสนใจ 
  • จำนวนคนดูไม่สำคัญกับการทำคอนเทนต์ในตอนแรก ไม่มีใครทำแล้วคนดูเยอะทันที ค่อยเป็นค่อยไป

เล่นเครื่องมือใหม่อย่างรวดเร็ว คนเล่าข่าวก็เล่น Tiktok ได้

  • เครื่องมือใหม่ๆ ทำให้ทำงานง่ายขึ้น อย่างตอนเริ่มเล่น Twitter ทำให้ส่งข่าวได้ไวยิ่งขึ้น ส่งไปได้หลายเครื่องยิ่งขึ้น
  • เวลาเห็นสิ่งใหม่ที่มาช่วยทำงาน ลองทำก่อน ถ้าไม่เวิร์คอย่างมากก็หยุดทำ ถ้าไม่ทำเลยก็ไม่รู้ ไม่ได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่
  • ล่าสุดลองเล่น Tiktok โดยมีความเชื่อว่าถ้าไปในที่ที่คนเล่นเยอะ จะมีวิธีนำเสนอที่คนเหล่านั้นสนใจโดยพยายามทำ content ให้ได้ภายใน 60 วินาที เป็นการปรับตัวในการนำเสนอข่าว

เทคโนโลยีใหม่สั่นสะเทือนวงการทีวี

  • สิ่งที่เปลี่ยนวงการคนทำทีวีคือวันที่ Facebook เริ่มไลฟ์ได้แล้ว เรียกได้ว่ามีแค่คนเดียวก็ไลฟ์ได้แล้วแทนที่จะต้องมีทีมงาน 10-20 คนในห้องส่งทีวี มีมือถืออันเดียวก็ทำรายการได้แล้ว
  • มีเทคโนโลยีมาแทนอะไรบางอย่างเสมอ ฟิล์มเริ่มแทนที่ด้วยกล้องดิจิตอล แต่ก่อนกว่าจะถ่ายรูปได้ต้องเตรียมตัวเยอะ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีมาเรื่อยๆ
  • การมีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้วงการทีวีสะเทือนเพราะวงการนี้ลงทุนหนักกว่ามาก 

เคล็ดลับทำคอนเทนต์ที่ไม่ยาก

  • ทำสิ่งที่ชอบ ตื่นเช้ามาก็อยากทำ
  • ความถี่ในการทำคอนเทนต์ก็สำคัญ
  • การไลฟ์ทำให้ขยายกลุ่มคนดู และเลือกเวลาดูได้ ทำให้คนดูหลากหลายวัยยิ่งขึ้น
  • ดูว่าเรามี passion จากอะไร แล้วทำเลย เป็นตัวตนเราจากข้างใน
  • ให้วิกฤติโควิดสร้างโอกาส ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้มีหลายอย่างที่จะไม่กลับมาแล้ว ต้องปรับตัวให้ได้ ละทิ้งความกลัว บริหารความเปลี่ยนแปลง

จรรณยาบรรณสื่อที่ถูกตั้งคำถาม

  • จรรณยาบรรณของนักข่าวคือต้องเก็บความรู้สึกตัวเองไว้ แล้วนำเสนอข้อมูลจากหลายฝั่งมากที่สุด
  • แต่คนทำสื่อเก่าเริ่มหายไป นักข่าวหน้าใหม่เริ่มได้รับบรีฟให้ทำข่าวนำเสนอให้ดราม่าที่สุด 
  • ทุกวันนี้ข่าวเลยไปกันใหญ่ บางทีปกปิดสถานะตัวเอง และไม่อธิบายให้คนสัมภาษณ์ชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ เลยเป็นการนำเสนอที่เอียงข้าง และไม่เป็นมืออาชีพ
  • ด้วยการเข้าถึงจากโซเชียลหลายทาง สื่อจะโดนจับผิดและวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วงในเรื่องการทำงาน
  • สังคมควรมีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับความเห็นทุกฝั่ง ปัญหาจะคลี่คลายลง ใช้เทคโนโลยีในทางบวก เพื่อปรับตัวสร้างอาชีพที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
สรุปจากสิ่งที่ฟังมาทั้งวัน จะเห็นได้ว่ามีการพูดย้ำๆ ซ้ำๆ ถึงการได้ทำสิ่งที่ชอบ เป็นตัวของตัวเอง และความสม่ำเสมอในการทำคอนเทนต์ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการทำคอนเทนต์ให้ประสบความสำเร็จ อีกทั้งการปรับตัว และเปิดรับสิ่งใหม่ที่เข้าก้เป้นสิ่งที่ทุกคนขาดไม่ได้ การ Balance ระหว่างตัวตนด้านในการงาน(ลูกค้า)ที่ทำก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นความท้าทายของครีเอเตอร์ทุกยุคทุกสมัย

ความรู้สึกของงานวันแรก

ปีนี้ดีใจมากที่ไม่ต้องวิ่งเปลี่ยนห้องเหมือนปีที่แล้ว ลดความวุ่นวายได้ในระดับนึงเลย ใช้วิธีแยกเป็น 3 วันได้ฟังครบทุกคนเป็นสิ่งที่ดี การรักษาเวลาในแต่ละ session ก็รู้สึกได้ว่าราบรื่นขึ้น ด้วยความที่เวลาขยายขึ้นจากปีที่แล้ว ทำให้ปริมาณการฟังแต่ละ session กำลังดี จะมีบางช่วงที่มีแขก 3 คนอาจจะน้อยไปนิดนึง ด้วยเนื้อหาโดยส่วนตัวจะชอบของคุณสุทธิชัยหยุ่นมากที่สุด เพราะรู้สึกแหวกแนวไปกว่า speaker ท่านอื่นพอสมควร ได้เห็นมุมมองของคนที่พร้อมปรับตัวไม่ว่าจะอยู่ในยุคไหน งานนี้ยังชอบเซอไพรส์ของที่ระลึกอยู่เสมอ น้องๆ สตาฟพลังดีเต็มที่มากกับการบอกให้ไปถ่ายรูปรับของที่ระลึก และตอนแจกของที่ระลึก 555 
สรุป iCreator Conference 2020 วันแรก + ความรู้สึก สรุป iCreator Conference 2020 วันแรก + ความรู้สึก Reviewed by giftoun on สิงหาคม 21, 2563 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น

Sponsor

AD BANNER

Travel everywhere!