Home Top Ad

สรุป iCreator Conference 2019 ตอนแรก

iCreator Conference ครั้งแรก

จะมีงานใดที่รวบรวม Content Creator ได้กว่า 1,500 คน เพื่อมาห้องเรียนขนาดใหญ่จาก Speaker ที่ถนัดในแต่ะด้านบ้าง ? น้อยครั้งจริงๆ ที่จะมีการรวมตัวกันขนาดนี้ ตื่นเต้นมากกกกกก ซึ่งงานนี้มีชื่อว่า iCreator Conference 2019 จัดโดยทีมงาน RAiNMaker ด้วยเนื้อหาหลายส่วนที่น่าสนใจเลยขอทำสรุปแบ่งออกเป็น 2 บล็อค โดยบล็อคนี้จะพูดถึงทิศทางคอนเทนต์ในอนาคต แพลตฟอร์มต่างๆ อย่าง YouTube, Twitter, Facebook ก้าวต่อไปของสื่อออนไลน์ และการสร้างเนื้อหาให้เหมาะกับแบรนด์(พาร์ทนี้อาจจะสั้นไปสักนิดนะคะ พอดีมีงานด่วนระหว่างนั้นพอดี ><) ใครสนใจทำคอนเทนต์หรือกำลังทำคอนเทนต์อยู่มาอ่านกันได้เลยค่ะ

Keynote : The Content Creator

ยุคแห่งการสร้างสรรค์คอนเทนต์

คุณเอ็ม ขจร เจียรนัยพานิชย์


  • ประเทศไทยใช้ mobile internet มากที่สุดค่าเฉลี่ย 5.13 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยทั่วโลก 3 ชั่วโมง
  • ลูกค้าสนใจแบรนด์ที่ทำคอนเทนท์มากกว่าโฆษณา 78%
  • สถิติ DAT อุตสาหกรรมสื่อออนไลน์โตขึ้น 20%
  • ความเชื่อที่ถูกทำลายจนกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในปีนี้
    • อาชีพที่เด็กอเมริกันอยากเป็นคือ YouTuber แทนที่จะเป็นนักอวกาศ
    • คนที่ทำเงินมากที่สุดคือเด็ก 7 ขวบที่ทำ YouTube รีวิวของเล่น แสดงให้เห็นว่าเด็กๆ ก็ทำคอนเทนต์ออนไลน์ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ใหญ่
    • คนเคยคิดว่า Content Creator ไม่สามารถสร้างรายได้ได้มากนัก จากโพลสำรวจ 10 อันดับแรกของคนทำเงินมากสุดล้วนแล้วแต่เป็น Content Creator
    • แต่ก่อนจะมีความเชื่อว่าโฆษณาตรงๆ จะไม่มีคนดู แต่พี่เอ็ด7 วิเค้าทำคลิปที่เน้นขายของและสนุกจนทำลายความเชื่อเก่าๆ ทิ้งไป
    • ฮาซันไลฟ์ขายปลาหมึกจากสตูล เป็นข้อพิสูจน์ว่าคนเราสามารถทำคอนเทนต์จากที่ไหนก็ได้ ไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไป มีแพลตฟอร์มากมายให้เลือก
    • The standard ทำสื่อออนไลน์ Debate การเมืองได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในสื่อใหญ่ๆ เสมอไป
  • ปัญหาวงการ Creator
    • เรื่องการทำคอนเทนต์บนโลกออนไลน์นี้ยังใหม่มาก ยังไม่ได้บรรจุลงหลักสูตรนิเทศศาสตร์ มีเพียงไม่กี่มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรที่ทันสมัยนี้
    • แต่ละแพลตฟอร์มเปลี่ยนกฎตลอดเวลา ทำให้ต้องคอยอัพเดทอยู่เรื่อยๆ
    • ในการจัดอันดับคลิปตามจำนวนคนดูทั่วประเทศ คลิปที่อยู่ใน 10 อันดับที่มีคนดูมากที่สุดอาจไม่เคยดูเลยก็ได้ แสดงให้เห็นว่าคลิปใดคลิปหนึ่งอาจไม่เหมาะกับทุกคน
    • สิ่งที่ตัดสินว่าเราจะได้เสพคอนเทนต์อะไรในแต่ละวันคือ อัลกอลิทึม(algorithm)
    • Creator ไม่ค่อยรวมกลุ่มกัน ทำให้อำนาจการต่อรองไม่ค่อยมี


What's Next on YouTube

ก้าวต่อไปของ YouTube ที่ครีเอเตอร์ควรรู้


  • ทุกนาทีจะมีคอนเทนต์อัพโหลดขึ้น YouTube 500 ชั่วโมง
  • YouTube ถือว่าเป็นสื่อที่สามารถกำหนด prime time ของตัวเองได้เหมือนสื่อหลัก
  • ปัจจุบันจำนวนคนใช้อินเทอร์เนตโตขึ้น 67%  จนทุกวันนี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต
  • YouTube สามารถเข้าถึงได้ทั้งเขตเมืองและต่างจังหวัด ซึ่งจุดประสงค์ของ YouTube คืออยากให้ทุกคนเข้าถึงได้
  • Channel เริ่มมีรายย่อยเข้ามาทำแล้ว เดิมมีแต่รายใหญ่
  • ช่องที่มีคนติดตาม 10,000,000 subscribers ล่าสุดคือช่องของเก๋ไก๋สไลเดอร์ และ บี้ เดอะสการ์ โดย จะได้ Diamond Channel ปัจจุบันในประเทศไทยมี 9 คน
  • ช่องที่มีคนติดตาม 1,000,000 subscribers  จะได้ Gold Channel ปัจจุบันในประเทศไทยมีถึง 200 คน
  • ช่องที่มีคนติดตาม 100,000 subscribers  จะได้ Silver Channel ปัจจุบันในประเทศไทยมีถึง 2,000 คน
  • เริ่มมีดาราเข้ามาทำ YouTube มากขึ้น
  • ในการทำ YouTube นั้นเอกลักษณ์สำคัญมาก
  • คอนเทนต์เกี่ยวกับเพลงก็มีคนทำอยู่มากมาย ทั้งคนร้องเพลงโคฟเวอร์ สอนร้องเพลง หรือเต้นจนมี Community เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้เลยก็มี
  • คอนเทนต์เกี่ยวกับข่าว คนก็ให้ความสนใจมาก
  • Learning education content เกิดจากคนที่อาศัยใน Asia Pacific ซึ่งจะค้นหาเรื่องราวที่หลากหลาย เช่น เรื่องเรียนที่ไหน เล่าประวัติศาสตร์ สอนภาษาอังกฤษ เป็นต้น
  • คีย์เวิร์ด "เรียน ซ่อม ปลูก " คนค้นหาเยอะ cr. http://google.com/trend
  • เคล็ดลับการทำ YouTube คือ จริงใจกับคนดู และทำตาม passion

Twitter for Content Creator 

แนวทางการสร้างเนื้อหาบน Twitter

Twitter is what's happening in the world and what people are talking about.
  • เติบโตต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว
  • ผู้ใช้งานเป็นผู้หญิง 51% ผู้ชาย 49% 
  • ส่วนมากคนเล่น Twitter จะมีอายุ 16-34 ปี
  • ก่อนพิมพ์ลงใน Twitter จะถามว่า What's happening ? 
  • ขณะที่แพลตฟอร์มอื่นจะถามว่า What's om your mind ?
  • Twitter ถือเป็นแพลตฟอร์มที่อยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบนโลกข้างนอก ไม่ได้นำเสนอความเป็นตัวเองมากนัก แถมยังมีความอยากรู้อยากเห็นว่าคนอื่นกำลังทำอะไร
  • สิ่งที่กำลังเป็นเทรนด์หรือดราม่ามักเริ่มจากทวิตเตอร์ แล้วแคปไปแพลตฟอร์มอื่น
  • มี Super leader และ Leader เล่นจำนวนมาก
  • มีคนพูดคุย 1.4 ล้านครั้งบนทวิตเตอร์
  • สามารถตามแฮชแทคได้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่หน้า Trend ซึ่งใช้โอกาสนี้ในการพูดคุยได้ เช่น จากแฟนคลับ ละคร ข่าว
  • ไวรัลเกิดได้ภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งถ้า Influencer เล่นแฮชแทคด้วย กระแสแฮชแทคจะเกิดขึ้น แล้วคนกลุ่มมากจะเล่นตามจนเกิดไวรัล
ตามแฮชแทคตามความสนใจ
  • แต่บางคนก็ไม่ได้สนใจเทรนด์มากนัก ดูแฮชแทคตามความสนใจ อาจไม่ติดเทรนด์ แต่ก็คุยกันได้ทั้งปี เช่น อาหาร เครื่องสำอาง ศิลปิน
  • ทำยังไงให้แฮชแทคติดเทรนด์
    • ขึ้นอยู่กับจำนวนทวิต ความถี่ และความสำคัญ
    • แบรนด์สามารถซื้อแฮชแทคหรือ First view ได้ โดยให้ขึ้นอย่างละ 1 แบรนด์ต่อวันนเท่านั้น
    • แบรนด์สามารถส่งจดหมายให้ Influencer เพื่อนำทวิตของ Influencer มา boost post ได้
    • Conversational Ad เป็นโพสต์ที่ให้เลือกแล้วรีทวิตต่อ สร้างกระแสไปวงกว้างได้
    • -Conversational Ad+Unlock คือการซ่อนคอนเทนต์บางอย่าง ถ้าอยากเห็น จะต้องรีทวิตตามแฮชเทคที่มีให้เลือก


Facebook Tools for Content Creator

เจาะลึกเครื่องมือที่ครีเอเตอร์ควรรู้บน Facebook

  • แอปพลิเคชันที่อยู่ Family เดียวกันกับ Facebook ได้แก่ Instagram WhatsApp และ Messenger
  • เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับ Facebook Watch 
    • Facebook Watch สามารถหาวิดิโอได้ นอกจากนี้ยังสามารถดูวิดิโอได้ที่ new feed ของ Facebook, Story Instagram & Facebook และ IGTV
    • คนดูวิดิโอบน Facebook นาน 26 นาทีต่อวัน
    • การดึงดูดให้คนมาดูวิดิโอบน Facebook นั้นประกอบไปด้วย 
      • co-watching (ดูร่วมกัน)
      • interact (คอมเมนต์)
      • community (กลุ่มที่สนใจร่วมกัน)
  • การสร้างแฟนที่มีความ Loyalty นั้นสำคัญ บวกกับการสร้าง Original Content จากเราเอง ไม่ copy มาจากที่อื่น และสร้าง Longer form videos
  • วิธีสร้างแฟนที่ Loyalty บน Facebook
    • สร้างการพูดคุยที่มีความหมาย
    • ตั้งตี้ Watch Party จะทำให้มีคนดูวิดิโอพร้อมกันแล้วคอมเมนท์เยอะขึ้น 8 เท่า ทั้งนี้สามารถนำวิดิโอเก่ามาทำ Watch Party ได้
    • ทำ poll online ในวิดิโอ
    • ตั้งค่า Premieres ให้รู้ว่าฉายครั้งแรก
  • Top fan(แฟนตัวจริง) สามารถดูได้ที่ Creator Studio (หลังบ้าน)
  • Story วิดิโอเป็นการ capture moment ในระยะเวลาอันสั้น ส่วนมากถ่ายแล้วโพสต์เลยจะสร้างความสนใจได้มากกว่า
  • In stream ad เหมาะกับวิดิโอแบบ long form ประกอบไปด้วย
    • Per roll
    • Mid roll
    • Image roll
  • Facebook สามารถสร้างรายได้เมื่อ
    • มีคนกดติดตามมากกว่า 10,000 followers
    • วิดิโอที่มีความยาวมากกว่า 3 นาที แล้วทุกๆ 1 นาทีมีคนดูมากกว่า 30,000 views
    • สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ fb.me/joinadbreaks
  • Branded content เป็นคอนเทนต์ที่ร่วมมือกันระหว่างแบรนด์กับแฟนเพจ
    • มีเพื่อความโปร่งใส
    • สามารถทำได้ทั้ง Facebook & Instagram
    • ควรปรับโพสต์ให้สามารถดูทางมือถือได้
    • ทั้งนี้ไม่ควรทิ้งความเป็นตัวเอง แล้วเทไปทางแบรนด์แบบสุดตัว

Future of Online Media

ก้าวต่อไปของสื่อออนไลน์

The Standard

  • เริ่มอยากรู้จักคนดูเพื่อทำคอนเทนต์ที่คนดูต้องการมากขึ้น แพลตฟอร์มที่ฮิตและน่าสนใจนั่นคือ การทำ Podcast
  • Content strategy is Kingdom กลยุทธในการทำคอนเทต์สำคัญมาก
  • รู้ว่าคนดูอยากดูอะไรและทำให้เร็ว
  • คนอ่าน The Standard อยากพัฒนาตัวเองในด้านต่างๆ เช่น แต่งหน้า เล่นฟุตบอล 
  • อย่างน้อยคนอ่านต้องได้อะไรกลับไป
  • ในการลงโฆษณานั้น แบรนด์ และเอเจนซี่ เข้าใจมากขึ้น หา impact หรือสิ่งที่ต้องการมากขึ้น ทั้งนี้ทาง The Standard จะเคารพคนอ่าน บอกตรงๆ เลยว่าเป็นโฆษณา คนอ่านก็เข้าใจ
  • เมื่อก่อนคิดว่าเราไม่ใช่เจ้าของแพลตฟอร์ม การเห็นโฆษณาจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ตอนนี้คนคิดว่าแต่ละแพลตฟอร์มคือบ้านของตัวเอง การยิง ads ให้ตรงตามความสนใจเป็นรายบุคคลจึงสำคัญ
  • ความยั่งยืนของ The Standard คือการหา original หรือจุดแข็งให้เจอถึงยั่งยืน อีกทั้งควรเข้าใจคนอ่านที่สามารถเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามโลกที่เปลี่ยนไป การเรียนรู้ไม่สิ้นสุด

The Matter

  • เล่าเรื่องซีเรียสด้วยความไม่ซีเรียส ตบด้วยความตลก โดยใส่อย่างพอเหมาะ
  • ข้อมูลที่มีอยู่แล้วรอบตัว นำมาถ่ายทอดให้ไม่ยากอย่างที่คิด
  • ปรับโฆษณาที่มาลงกับ The Matter ให้เข้ากับคนดูรายบุคคลมากขึ้น โดยต้องปรับตัวกับสิ่งใหม่ตลอดเวลา เพราะแพลตฟอร์มนั้นปรับอยู่เรื่อยๆ
  • ความยั่งยืนของ The Matter คือการสร้างวัฒนธรรมองค์กร และ Balanced ระหว่างธุรกิจกับอุดมการณ์

Mango Zero


  • ให้ความสำคัญในการสร้างความเป็นตัวตนผ่านทางคอนเทนต์ที่ไม่เลียนแบบใคร
  • เล่าเรื่องราวใหม่ๆ เป็นสื่อแรก
  • Live interactive X BNK48 เป็นไลฟ์ที่คนดูเลือกเส้นทางให้เมมเบอร์ ซึ่งเป็นไลฟ์ที่คนดูไม่หายไปไหนเพราะอยากรู้ว่าเมมเบอร์จะทำอะไรต่อ
  • มีการวางแผนและเข้าใจคอนเทนต์แต่ละแบบ.
  • แบรนด์ที่สนใจลงโฆษณาที่ Mango Zero เริ่มเข้าหาและเข้าใจความเป็น Mango Zero โดยพูดในแบบของตัวเองได้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถบอกลูกค้าได้ว่าอยากทำอะไร และโน้มน้าว
  • ให้พนักงานทำงานส่วนตัวได้ 10% ของเวลาทำงานเพื่อพัฒนาตัวเองและสนับสนุน Creator รุ่นใหม่


สรุปก้าวต่อไปของคอนเทนต์ในมุมของสื่อออนไลน์

  • การทำคอนเทนต์ออนไลน์จะไม่มีแต้มต่ออีกต่อไป เจ้าเล็กก็สามารถสู้กับเจ้าใหญ่ได้
  • ยอดไลค์ยอดแชร์สำคัญในเป้าหมายแรก ถ้าถึงแล้วก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป ดูคอมเมนท์กับแชร์เป็นหลัก
  • ดูเป้าหมายการสื่อสารของแบรนด์เป็นหลักก่อนทำสื่อออนไลน์
  • รู้จุดแข็งของตัวเองและทำต่อไป
  • สิ่งที่ต้องทำคือ เก็บ feedback กับเก็บข้อมูลรายวัน
  • การมี Big data หรือรู้จักคนอ่านมากที่สุด(เป็นรายบุคคล)จะได้เปรียบมากในการทำคอนเทนต์
  • บางจุดที่เคยสำเร็จ ปัจจุบันอาจไม่สำเร็จแล้วก็ได้ ไม่ลอกความสำเร็จตัวเองในอดีต
  • คนเดียวสามารถตัดต่อ เขียนสคริปต์ ถ่ายรูป และโพสต์ได้ ความ Multi-task นี้เหมาะกับคนรุ่นใหม่ ประเทศไทยควรมีหลักสูตรด้านนี้
  • ถ้านำคนอ่านเป็นจุดศูนย์กลาง คอนเทนต์จะมีความยั่งยืนมากที่สุด

How Brand Adopt Content Marketing


สร้างเนื้อหาบนโลกออนไลน์ให้เหมาะกับแบรนด์

 AIS

  • เป๊กxแบมแบม touch-nology ทำเป็นคลิปเต้นให้รู้ว่าเครือข่ายเร็ว
  • ทำ Real time marketing กับบุพเพสันนิวาสเป็นละครสั้นฉายควบคู่กับละคร

KBank

  • พยายามทำคอนเทนต์ที่เข้าใจง่าย สนุก และไม่ลืมตัวตนของตัวเอง
  • อยากให้แอปพลิเคชั่น K PLUS เป็น every day used
  • แอปพลิเคชั่น K PLUS คนใช้เยอะที่สุด
  • สร้างกระแสให้เกิดออนไลน์เป็นโจทย์สำคัญ

Golden Land (ผู้สร้าง SAMYAN MITRTOWN)


  • มีแนวคิดว่าถ้าเป็นสิ่งใหม่ คนจะพูดถึงกัน
  • ได้สร้าง awareness ให้สามย่านมิตรทาวน์ตั้งแต่ปี 2017 คนสนใจอายุมากกว่า 35 ปี
  • จากการสำรวจบนแฟนเพจพบว่าคนสนใจ content learning คำนิยามสามย่าน และถ่ายรูป
  • มีการทดลองใช้แอปพลิเคชั่นแบบ manual ตัดกระดาษเป็นใบๆ เพื่อทดสอบแอปพลิเคชั่นเบื้องต้น

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าใครก็สามารถทำคอนเทนต์ได้ จะเด็กหรือผู้ใหญ่ขอให้มี passion ในสิ่งที่ทำและถ่ายทอดออกมาตามแบบฉบับของตัวเอง ยังมีช่องในการสร้างคอนเทนต์หลากหลาย ซึ่งในแต่ละแพลตฟอร์มก็มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป ถ้าอยากจะเข้าใจอย่างถ่องแท้จะต้องลองลงไปเล่น ไปคลุกคลีกับ community ของแต่ละแพลตฟอร์ม ตอนต่อไปจะพูดถึงการคิดไอเดีย รับมือกับลูกค้า สร้างคาแรคเตอร์ออนไลน์ และการทำให้ไอเดียเข้ากับบรีฟ ติดตามได้ในตอนต่อไป อ่านได้ที่ สรุป iCreator Conference 2019 ตอนจบ 
สรุป iCreator Conference 2019 ตอนแรก สรุป iCreator Conference 2019 ตอนแรก Reviewed by giftoun on พฤศจิกายน 08, 2562 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น

Sponsor

AD BANNER

Travel everywhere!