Home Top Ad

สรุป iCreator Conference 2020 วันที่ 3 จบด้วยป๋าเต็ด


หายจากสรุปมาไปสักพักนึง วันนี้มาสรุป iCreator Conference 2020 วันสุดท้ายแล้วจ้า มาอ่านกันได้เลย

ส่วนใครยังไม่ได้อ่านวันแรกกับวันที่ 2 สามารถอ่านได้ที่

สรุป iCreator Conference 2020 วันแรก + ความรู้สึก

สรุป iCreator Conference 2020 วันที่ 2 ว่าด้วยเรื่องเสียง

Tinder with situationship

  • สร้างแอปพลิเคชันเพื่อให้เด็กมหาลัยที่แอบชอบรุ่นพี่ หรืออยากรู้จักใครบางคนแต่ไม่กล้าทัก เลยทำเพื่อจุดนี้ตั้งแต่ปี 2012 แล้วเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • มีการสร้างคอนเทนต์ร่วมกันระหว่างเซเลปและทีมฟุตบอล
  • ส่วนมากคนเล่น 18-25 ปี
  • Swipe เลือก match เลือกทั้ง 2 คนพร้อมให้ทัก chat คุยกันต่อ
  • Tinder passport ปัดได้ไกลสุด 160 กิโลเมตร ถ้าเป็น premium จะย้ายประเทศไทย โดยคนไทยย้ายไปเกาหลี ลอนดอน และญี่ปุ่นมากที่สุด
  • Gen Z มักจะมีความสัมพันธ์แบบไม่ต้องรู้ว่าเราคบกันแบบไหน (situationship) ขอแค่มีสิ่งที่ชอบบางอย่างเหมือนกันก็ match กันได้ Tinder พยายามเพิ่มสิ่งที่สนใจของแต่ละคน
  • ใช้ระบบ Photo verification เพื่อเช็คว่าภาพตรงปกหรือไม่ตอนถ่าย
  • Video chat เป็นประโยชน์มากตอนที่ออกมาเจอกันไม่ได้
  • สร้างคอนเทนต์ด้วยการหาคนที่มีความชอบเหมือนกันมาทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกันได้ เช่น เควินที่หาเพื่อนไปต่อยมวย

ก้าวแรกของการทำคอนเทนต์ของบ่องเต่า

  • สิ่งที่ยากในการทำคอนเทนต์คือก้าวแรก เริ่มทำก่อนโดยยังไม่ต้องคิดอะไรมาก เขียนเพราะอยากเขียน ไม่ต้องสนว่ามีคนอ่านไหม
  • ความสม่ำเสมอสำคัญมาก เพราะการทำคอนเทนต์คือการสร้าง personal brand การสร้างแบรนด์เหมือนการสร้างบ้าน ค่อยๆ ต่อเติมกันไป
  • คอนเทนต์ในอดีตที่เคยเขียนไปเราอาจจะไม่ชอบแล้ว เพราะตัวเองเริ่มเติบโตขึ้น ความคิดเปลี่ยนไป เมื่อดูคอนเทนต์ในอดีตอาจต้องกลับมาคิดดูอีกที
  • 7 ข้อสำหรับคนทำคอนเทนต์กับเอเจนซี่และแบรนด์
    • 1.ใครๆ ก็อยากทำกับมืออาชีพ ทำงานง่าย ไว้ใจได้ และคุยรู้เรื่อง พูดชัดเจนว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้
    • 2.Niche (หรือสิ่งที่เฉพาะเจาะจง) เล็กๆ ที่แข็งแกร่งมีค่าไม่ต่างกับ Mass ถ้า Segment แข็ง Target นิ่ง และ Position ชัด
    • 3.รู้ลึก รู้จริง ข้อมูลมากกว่าได้เปรียบกว่า
    • 4.แบรนด์ที่เหมาะสมกับเราเป็นจุดตั้งต้นของคอนเทนต์ที่ดี ถ้าไม่เหมาะอาจจะกัดกร่อนตัวตนได้
    • 5.ไม่มีสูตรสำเร็จในการทำคอนเทนต์ ทำวันนี้ พรุ่งนี้อาจไม่ปังแล้วก็ได้
    • 6.Production ที่ดีไม่ใช่ทุกอย่างของคอนเทนต์ที่ดี เพราะทุกคนซื้อกล้องที่ดีได้ แต่ถ้านำข้อมูลเชิงลึกมาประกอบไม่ได้ คอนเทนต์จะเหมือนกันหมด
    • 7.ไม่มีคำว่าขายเนียนๆ อีกต่อไป
  • หมั่นถามตัวเองเรื่อยๆ ว่ายังมีความสุขกับคอนเทนต์ที่ทำอยู่ไหม ถ้าไม่แล้วค่อยๆ เปลี่ยนทีละนิด

หน้าตาเว็บไซต์ที่ Friendly กับผู้ใช้ โดยคุณต่อ

  • เข้าใจว่าลูกค้าต้องการ search อะไรบ้าง ใช้คำว่าอะไร ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นกับการทำคอนเทนต์ต่อคนที่ต้องการคำตอบ ณ เวลานั้นทันที
  • รูปแบบการ search ของ Google แสดงผลหลายอย่าง มีทั้งเรตติ้ง รูปภาพ หรือไปที่แอปพลิเคชันทันที
  • สิ่งที่ท้าทายในการทำ seo คือทำแล้วไม่รู้จะวัดผลยังไง ได้ผลอะไรกลับมา เข้ามาดูซ้ำมั้ย หรือเข้ามาแล้วออกไปเลย ซึ่งควรตอบได้
  • การทำเว็บไซต์จะไม่ใช่การทำแค่ครั้งเดียว จะต้องทำและปรับปรุงจากผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง
  • การแสดงผลของเว็บไซต์บนมือถือเป็นสิ่งที่ Google ให้ความสำคัญ
  • เข้าใจว่าลูกค้าจะกดเว็บไซต์จากมือได้อย่างไรบ้าง คอนเทนต์ที่สนใจเมื่อเข้าเว็บไซต์จะมีอะไรบ้าง

เมื่อโควิดมาเปลี่ยนผู้บริโภค

  • อยู่บ้าน ซื้อของออนไลน์ สั่งอาหารเดลิเวอรี่ ดูหนังที่บ้านมากขึ้น
  • เกิด Business shock มีการปิดตัวลง และปรับตัว เช่น ผลิตเจลแอลกอฮอล์ หน้ากาก ขายวัตถุดิบที่เหลือจากร้านอาหารผ่านออนไลน์
  • มีการสร้างคอนเทนต์บางอย่างเพื่อให้ตระหนักแต่ไม่ตระหนกจนเกินไป
  • เมื่อคลายล็อคดาวน์แล้ว มีคำว่า new normal
  • Luxury brand ไม่กระทบเท่าไหร่ ยังขายได้อยู่ และมีแนวโน้มขายได้ดีขึ้น
  • บ้าน คอนโดราคาถูก คนมีเงินอยู่แล้วรีบซื้อ
  • สินค้าเพื่อสุขภาพจะขายดียิ่งขึ้น
  • ช่วงฟื้นฟู เกือบใช้ชีวิตได้ปกติ สถานที่เที่ยวคนเยอะขึ้น เรียกได้ว่าเป็น chill normal
  • หลังจากโควิดผ่านพ้น จะเป็นการมาของวัคซีน และยาป้องกัน 
  • คาดว่าต้นปีหน้า จะมีการเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น 
  • คนกลับมาโลกดิจิตอล แล้วจะหาคุณค่าที่จำเป็นกับเขาจริงๆ
  • Active user ในแอปพลิเคชั่นมีมากขึ้น
  • เป็นครั้งแรกของ Gen Z ที่เจอวิกฤตทางเศรษฐกิจ ทำให้ใส่ใจในความมั่นคง สุขภาพ และการพัฒนาตัวเองมากขึ้นตอนเกิดโควิด
  • นี่เป็นเวลาของ content creator แล้วเพราะทุกคนเข้ามาในโลกดิจิตอลแล้ว ขอให้ทำงานให้หนักขึ้น เพราะทางเลือกของลูกค้าจะมากขึ้น
  • สร้างฐานแฟนสร้างคอนเทนต์ที่ตรงกับคุณค่าหรือบันเทิง
  • ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโต
  • จงเตรียม stock content ไว้เพราะไม่รู้จะมี wave 2 มั้ย หรือมีอะไรกลับมา คนที่เตรียมพร้อมก่อนได้เปรียบ

เมื่อการจัด Event เริ่มเปลี่ยนไป

  • ไม่สามารถจัดงาน on ground ได้ มีการ live streaming แบบ private มากขึ้น
  • Conference ยังพอจัดได้ แต่การปิดดีลใหญ่ของนักลงทุนนั้นการเจอกันยังสำคัญอยู่
  • Production ดีใช่ว่าจะทำให้ไลฟ์ประสบความสำเร็จ อยู่ที่คอนเทนต์
  • จัด Virtual conference จะต้องมี customer support จำนวนมากที่ใจเย็น อะไร pre record ได้ทำก่อนเลย
  • มีการจัดอีเว้นท์ออนไลน์ที่ทำให้มีประสบการณ์ร่วมกัน เช่น สอนการทำเบอร์เกอร์
  • อนาคตจะมีการใช้โฮโลแกรมแทนคน
  • ถ้าการถ่ายทอดสดต้องดีเลย์ จะมีการแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง เป็นสิ่งที่ควรคิดล่วงหน้า
  • ดูเป้าหมายของการทำอีเวนท์และ feedback ของคนเข้ามาดูเพื่อพัฒนาต่อไป คิดถึงความคุ้มค่าที่จัด

เมื่อไอดอลทำคอนเทนต์เอง

  • อยากทำให้แตกต่างจากไอดอลคนอื่น แล้วเมื่อ 3 ปีที่แล้วยังไม่มีไอดอลทำวีดีโอ น้องพิมเลยเริ่มทำ ทำด้วยความอยากทำ
  • น้องไอซ์คิดว่านอกจากโปรโมทตัวเองแล้ว ยังเป็นการโปรโมทวงด้วย ซึ่งคอนเทนต์มีหลากหลายมาก ทั้งแคสเกม คลิปเต้นเพลงฮิต
  • น้องบีมบีมชอบอัดคลิปเพราะความสนุกอยู่แล้ว ส่วนมากทำคลิป 1 วันของการเป็นแอร์ ไปเที่ยว เป็นต้น
  • มีการฟัง feedback จากแฟนคลับไปปรับเหมือนกัน
  • จะทำคอนเทนต์แหวกแนวไปเลยหรือทำสิ่งที่ฮิต อยู่ที่เลือก
  • ความสม่ำเสมอเป็นเรื่องที่ยาก เพราะมีเรื่องซ้อม เรื่องเรียน มาเกี่ยว
  • การรักษาภาพลักษณ์ ทั้งการพูด แต่งตัว และใกล้ชิดเพศตรงข้ามยังสำคัญกับไอดอล
  • ทุกคอนเทนต์จะระวังเรื่องคำพูดและการถ่ายกับเพศตรงข้าม เพื่อให้เกียรติแฟนคลับ และรักษาภาพลักษณ์ไอดอล

ครีเอเตอร์ใช้กล้องอะไรดี

  • วิดิโออธิบายได้ละเอียดจริง มีลูกเล่น แต่ก็ต้องดึงดูดความสนใจภายในไม่กี่วินาที
  • จะภาพนิ่งหรือวิดิโออยู่ที่คอนเทนต์ที่เลือก
  • ดูเนื้อหาก่อนว่าภาพสวยจำเป็นกับเนื้อหาไหม
  • กล้องที่ดีแต่ละคนไม่เหมือนกัน อยู่ที่การใช้งานของแต่ละคน
  • มาตรฐานวิดิโอปัจจุบันอยู่ที่ 1080p 
  • ถ่าย log เน้น ISO 800 จะต้องไปเกรทสีซึ่งไม่เหมาะกับงานที่เน้นความรวดเร็ว เน้นงานละเอียด
  • กล้องแต่ละยี่ห้อมีเอกลักษณ์สีต่างกัน สามารถเลือกตามความเคยชินและชื่นชอบได้เลย
  • คอนเทนต์แต่ละแบบจะใช้กล้องไม่เหมือนกัน เช่น
    • Beauty blogger กล้องเน้น Flip เห็นหน้าตัวเองได้ มีพอร์ตต่อไมค์ ring flash สะดวกใช้งาน
    • งานตั้งสัมภาษณ์ กล้องถ่ายยางได้ ไม่ฮีท ไม่ตัด ต่อไมค์แยกได้ ไมค์ไวเลส ขาตั้งกล้อง คอยเช็คแบต มีหูฟังคอยเทสต์เสียง
    • การไลฟ์ อุปกรณ์แล้วแต่ความต้องการลูกค้า เน้นกล่องที่ถ่ายนานๆ ได้
    • สายท่องเที่ยว เน้นคล่องตัวอย่าง gopro หรือมือถือก็ยังได้
  • เลือกกล้องตามสิ่งที่ตัวเองอยากได้ตามปัญหาที่มี แล้วอย่าคิดว่าซื้อกล้องตัวแรกจะจบ
  • กล้องเป็นแค่อุปกรณ์ตัวกลางที่ช่วยเสริมคอนเทนต์ให้ดีที่สุด และไปได้ไกล

เมื่อป๋าเต็ดโดดมาทำคอนเทนต์ออนไลน์

  • สมัยก่อน คืนก่อนวางแผงเทปจะไปรายการเปิดแผงเทปคือป๋าเต็ด ทำให้รู้จักศิลปินทุกคน
  • แต่พอไม่ได้ทำรายการวิทยุแล้ว ทำให้รู้จักศิลปินล่าสุดไม่เยอะ ตอนบิ๊กเมาเทนก็จัดตารางศิลปินแค่เวทีหลักเพราะไม่ได้รู้จักคนอื่นแล้ว เลยอยากทำความรู้จักศิลปินมากขึ้นผ่านการสัมภาษณ์ในป๋าเต็ดทอล์ค

ลองทำแล้วยังไม่เวิร์ค

  • ซีซั่นแรก ศิลปินฮิปฮอป ตอนแรกยังไม่มั่นใจมากเรื่องทำรายการออนไลน์ เลยเริ่มสัมภาษณ์จากคนไม่รู้จักเพื่อจะได้มีข้อสงสัยเยอะๆ 
  • พอมาย้อนดูรู้สึกว่าตัวเองยังอ่อนหัด ทำรายการเหมือน 20 ปีที่แล้ว เลยลองเริ่มสนทนาเชิงลึกในซีซั่นสอง 
  • แรงบันดาลใจคือสุทธิชัย หยุ่นที่มาสัมภาษณ์ป๋าเต็ด ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการคิดว่าจะเรียบเรียงคำถามยังไง ตั้งกล้องยังไงให้คนดูเหมือนได้คุยกับศิลปิน 

ใช้ Deep conversation แทนในซีซั่น 2

  • เลือกคนแรกที่มีหัวข้อที่น่าสนใจให้ถามเยอะอย่างบังโต การสัมภาษณ์บังโตทำให้เกิดรูปแบบการสัมภาษณ์จนถึงทุกวันนี้ แล้วการที่บังโตขอให้ไม่มีเพลงเพราะขัดกับศาสนาทำให้ได้ยินเสียงคนสัมภาษณ์จริงๆ ถือว่าบังโตทำให้เกิดเอกลักษณ์บางอย่างในป๋าเต็ดทอล์ค
  • ด้วยรูปแบบ deep conversation ทำให้แขกรับเชิญได้พูดคุยสิ่งที่ไม่เคยพูดที่ไหนมาก่อน
  • ตอนของคุณโจ้ เขียนไข ป๋าชอบเพราะเป็นตัวอย่างของคนพูดไม่เก่งแต่ทำให้รายการสัมภาษณ์สนุกได้ 
  • ยืนยันความเชื่ออย่างหนึ่งว่าจะทำอย่างไรที่จะทำความเข้าใจและให้ผู้สัมภาษณ์เป็นตัวของตัวเองที่สุด และไว้ใจมากที่สุด อย่างตัดรายการเสร็จก็ส่งกลับมาให้ศิลปินดูก่อนออนแอร์

เคล็ดลับความสำเร็จของป๋าเต็ดทอล์ค

  • 1.ประสบการณ์ที่เคยสัมภาษณ์ศิลปินมาหลายปีทำให้ถามคำถามลึกๆ ได้ แต่ข้อเสียคือรู้จักศิลปินเยอะเกินไป เลยคิดว่าบางเนื้อหาไม่น่าสนใจสำหรับป๋าเต็ดแต่จริงๆ น่าสนใจสำหรับคนทั่วไป เลยให้ครีเอทีฟที่มีอายุใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายไปหาข้อมูลและตั้งคำถามมา
  • 2.นักสัมภาษณ์ที่ดีไม่ใช่คนที่พูดเก่ง แต่เป็นคนที่ฟังเก่ง คำถามที่เป็นไฮไลท์มักมาจากการฟังจนได้คำถามต่อยอดจากสิ่งที่ฟังนั้น มักได้คำถามที่คาดไม่ถึง พยายามให้คนตอบนั้นพูดออกมาให้มากที่สุด

การปรับตัวของบิ๊กเมาเทนท์เมื่อจัดในสถานการณ์โควิด

  • ความยากในการจัดคอนเสิร์ตที่รวมคนเยอะๆ คือบาลานซ์ความรู้สึกของแต่ละคนที่คิดไม่เหมือนกันในสภาวะแบบนี้ มีทั้งคนที่ระวังและไม่ระวังตัวมาก 
  • เบื้องต้นคือมาตรการสาธารณสุขยังมีอยู่ มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น เพิ่มช่องทางเข้าจาก 16 เป็น 32 มีโซนใส่หน้ากากชัดเจน มีการปูเสื่อสร้าง social distance ลดจำนวนคนจาก 1 แสน เหลือ 5 หมื่น
  • Virtual online ไม่ใช่ new normal เป็น new catagory เพราะเป็นแค่ทางเลือกที่ทดแทน Event on ground ไม่ได้ สุดท้ายแล้ว online event จะเติบโตควบคู่กับ offline event

เมื่อศิลปินอยู่ฝั่งเดียวกับแฟนคลับ

  • พลังของ community fanclub มีมากขึ้น ศิลปินกับแฟนเพลงอยู่ฝั่งเดียวกันจากเดิมศิลปินอยู่ฝั่งเดียวกับค่าย ค่ายเพลงต้องปรับตัว 
  • ถ้าเข้าใจได้ว่าคนใน community ต้องการอะไร อยากฟังเพลงแนวไหนจะไปต่อได้
  • แบรนด์ต้องเข้าใจ community ของศิลปินนั้นๆ คอยดูแลความรู้สึกของแฟนคลับ

ทำเรื่องที่ถนัดและรู้เยอะที่สุด

  • สังคมทุกวันนี้เปิดโอกาสให้เป็นตัวของตัวเอง จะคิดคอนเทนต์ได้ ทำเรื่องที่ถนัดและรู้เยอะที่สุด
  • คอนเทนต์แบบนี้จะสื่อสารแบบใด มีให้เลือกหลายแบบ ไม่ต้องยึดติดรูปแบบเดิม

สรุป

จริงๆ ดีใจมากที่เรียนสรุปงาน iCreator Conference 2020 จบ 3 วันได้ เป็นอีเวนท์ที่ใช้พลังมหาศาลในการรับความรู้ การจด และการสรุปเยอะมาก ไม่ว่าจะฟังครีเอเตอร์มากี่คน สุดท้ายการทำคอนเทนต์ให้เป็นตัวของตัวเอง หมั่นหาความรู้ใหม่ๆ และทำคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอสำคัญที่สุด
สรุป iCreator Conference 2020 วันที่ 3 จบด้วยป๋าเต็ด สรุป iCreator Conference 2020 วันที่ 3 จบด้วยป๋าเต็ด Reviewed by giftoun on สิงหาคม 28, 2563 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น

Sponsor

AD BANNER

Travel everywhere!